พระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

download (1)เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ) มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร ทรงมีพระชาติภูมิ ณ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ณ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี แล้วเข้ามาอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนพระชนมายุครบอุปสมบท และทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง วชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ประทับอยู่ศึกษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดมาจนกระทั่งสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๘๔  อ่านเพิ่มเติม

By ampai555

น้อมรำลึก “วันอานันทมหิดล”

logo

น้อมรำลึก วันอานันทมหิดล แพทย์จุฬาฯสืบสานพระราชปณิธาน9 มิถุนายน “วันอานันทมหิดล” วันคล้ายวันเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

ในวันนี้ปวงชนชาวไทยต่างน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณา ธิคุณ พระเมตตาธิคุณอันมีเป็นอเนกประการ และจากพระราชปรารภความสำคัญตอนหนึ่งว่า …ทรงต้องการให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น ให้เพียงพอที่  จะช่วยเหลือประชาชน… เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้แก่แพทย์และพยาบาล ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489

จากพระราชปรารภดังกล่าว รัฐบาลขณะนั้นได้อนุมัติงบประมาณให้แก่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อสนองพระราชปรารภ ในการขยายการศึกษาแพทยศาสตร์ของประเทศไทยให้สามารถผลิตแพทย์เพิ่ม ให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน การศึกษาแพทย์ของประเทศไทยในขณะนั้นมีอยู่เพียงแห่งเดียว คือที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถรับนักศึกษาแพทย์อย่างมากได้เพียงปีละ 50 คนและเนื่องจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีสถานที่จำกัด ไม่สามารถขยายเพิ่มขึ้นได้พอตามที่ต้องการ อีกทั้งการจะรับนักศึกษาจำนวนมาก รวมถึงการขยายหรือการไปสร้างโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่ก็เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง เกินกำลังของรัฐบาลสมัยนั้นซึ่งสูญเสียงบประมาณจากการเข้าร่วมทำสงครามโลกครั้งที่ 2

อ่านเพิ่มเติม

By ampai555